Dawei Development Association (DDA) together with villagers who have been directly impacted by the Dawei Special Economic Zone (DSEZ) project and local civil society groups from Dawei will launch a new report “Voices from the Ground: Concerns Over Dawei Special Economic Zone and Related Projects” on 21 October 2014. The report presents the findings of a qualitative and quantitative study carried out in 20 villages affected by the DSEZ and related projects. It highlights the deteriorating social, environmental and human rights situation caused by the DSEZ project as a result of an overall lack of transparency and consultation with the local people, and a lack of adequate laws to regulate industrial and economic investment in Myanmar. The report is being submitted to the National Human Rights Commission of Thailand – because of the Thai government’s role in the DSEZ project – and will be examined during a public hearing organized by the National Human Rights Commission at their offices from 9.00am on 21 October 2014.
——————————————————————————
What: Media briefing on the Public Hearing with the National Human Rights Commission on the Dawei Special Economic Zone Project
When: 3:30 pm – 5:30pm, 21 October 2014
Where: National Human Rights Commission of Thailand
The Government Complex Commemorating His Majesty , B Building
Room 709, 7th Floor, 120 Chaengwattana Road, Laksi District, Bangkok 10210
Speakers:
Documentary Screening: Supporting the media briefing, a screening of the documentary “Dawei, Losses for Development” will take place at the start of the program.
——————————————————————————
What: Launch of the Report “Voices from the Ground: Concerns Over Dawei Special Economic Zone and Related Projects”
When: 6:30pm – 9:30pm, 21 October 2014
Where: Foreign Correspondents’ Club of Thailand (FCCT)
Penthouse, Maneeya Center Building, 518/5 Ploenchit Road, Lumpini Pathumwan, Bangkok 10330
Speakers:
Documentary Screening: Supporting the report launch, a screening of the documentary “Dawei, Losses for Development” will take place at the start of the program.
——————————————————————————
The DSEZ was initiated in 2008 as a bilateral economic cooperation project jointly owned by the national governments of Thailand and Myanmar. While Dawei Development Company Ltd, a join venture company owned by Italian-Thai Development Plc. (ITD) and Max Myanmar was carrying out the DSEZ project, Max Myanmar withdrew its investment, effectively stalling the project in 2012.
The Myanmar and Thai governments took control of the project in November 2013, and concession rights were transferred to a Special Purpose Vehicle (SPV). The governments of Myanmar and Thailand jointly own the SPV, with equal stakes in the project. Therefore, both governments are directly responsible for the DSEZ project, as well as any negative impacts that might arise from it.
Based on qualitative and quantitative studies of villages that have been affected by the DSEZ project, the report offers key findings and recommendations to the major stakeholders, including the Thai and Myanmar governments and the national human rights institutions of these countries, as well as to private sector companies from Thailand, Japan, and elsewhere who may be considering investment in these projects.
A chronology of key events regarding the DSEZ can be viewed here.
We look forward to your participation in the press conference.
Sincerely,
Dawei Development Association (DDA)
For more information, please contact, Areewan Sombunwatthanakun, at [email protected], mobile phone: +66 (0) 90 237 6565
ข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน
เปิดตัวรายงาน “Voices from the Ground: Concerns Over Dawei Special Economic Zone and Related Projects” (“เสียงจากชุมชน: ข้อกังวลต่อโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง”)
สมาคมพัฒนาทวาย (Dawei Development Association DDA) ร่วมกับชาวบ้านซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone – DSEZ) และกลุ่มประชาสังคมจากทวายจะเปิดตัวรายงานฉบับใหม่ “เสียงจากชุมชน: ข้อกังวลต่อโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง” ในวันที่ 21 ตุลาคม 2557 ในรายงานมีข้อมูลจากการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพใน 20 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการต่อเนื่อง เผยให้เห็นสถานการณ์ที่เสื่อมโทรมลงทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน โดยเป็นผลมาจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งไม่มีความโปร่งใสและขาดการปรึกษาหารืออย่างสิ้นเชิงกับประชาชนในพื้นที่ ไม่มีระบบกฎหมายที่เพียงพอในการควบคุมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในพม่า เป็นรายงานที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เนื่องจากรัฐบาลไทยมีบทบาทในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และจะเข้าสู่การพิจารณาในการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งทางกสม.จะจัดขึ้นที่สำนักงานตั้งแต่เวลา 9.00 น. วันที่ 21 ตุลาคม 2557
กิจกรรม 1: จะมีการให้ข้อมูลโดยสรุปภายหลังการจัดเวทีตรวจสอบข้อเท็จจริงที่สำนักงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ภาษาไทยและอังกฤษ
อะไร: เป็นการสรุปโดยสังเขปให้สื่อมวลชนเกี่ยวกับการจัดเวทีตรวจสอบข้อเท็จจริงที่กสม.ในหัวข้อโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
เมื่อไร: 15.30-17.30 น. 21 ตุลาคม 2557
ที่ไหน: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคารบี)
ห้อง 709 ชั้น 7 120 หมู่ที่ 3 ถนน แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขต หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
วิทยากร:
การฉายภาพยนตร์สารคดี: เป็นข้อมูลที่สนับสนุนเนื้อหาในรายงาน สารคดีมีชื่อว่า “ทวาย ความสูญเสียเพื่อการพัฒนา” (“Dawei, Losses for Development”)
กิจกรรม 2: การแถลงข่าวในตอนค่ำ ซึ่งจะพูดเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
อะไร: เปิดตัวรายงาน “Voices from the Ground: Concerns Over Dawei Special Economic Zone and Related Projects” (“เสียงจากชุมชน: ข้อกังวลต่อโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและโครงการที่เกี่ยวข้อง”)
เมื่อไร: 18.30-21.30 น. 21 ตุลาคม 2557
ที่ไหน: สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT)
ห้องเพนท์เฮาส์ 518/5 อาคารมณียาเซ็นเตอร์ เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม 10330
วิทยากร:
การฉายภาพยนตร์สารคดี: เป็นข้อมูลที่สนับสนุนเนื้อหาในรายงาน สารคดีมีชื่อว่า “ทวาย ความสูญเสียเพื่อการพัฒนา” (“Dawei, Losses for Development”)
โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเกิดขึ้นเมื่อปี 2551 โดยเป็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแบบทวิภาคีของรัฐบาลไทยและพม่า ในขณะที่บริษัทพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนที่เป็นของบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) และ Max Myanmar ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการตามโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ต่อมา Max Myanmar ได้ถอนการลงทุนจากโครงการ เป็นเหตุให้โครงการหยุดชะงักไปเมื่อปี 2555
รัฐบาลไทยและพม่าได้เข้ามาควบคุมโครงการนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 และมีการมอบสิทธิสัมปทานให้กับนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle – SPV) ทั้งรัฐบาลไทยและพม่าต่างเป็นเจ้าของนิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าว โดยมีหุ้นเท่ากัน จึงถือว่ารัฐบาลทั้งสองมีส่วนรับผิดชอบโดยตรงต่อโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย รวมทั้งผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนา
จากผลการศึกษาในเชิงปริมาณและคุณภาพในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในรายงานจะระบุถึงข้อค้นพบสำคัญและข้อเสนอแนะให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก รวมทั้งรัฐบาลไทยและพม่า และสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเทศทั้งสอง รวมทั้งภาคเอกชนจากไทย ญี่ปุ่น และประเทศอื่น ๆ ซึ่งอาจพิจารณาเข้ามาลงทุนในโครงการนี้
ลำดับของเหตุการณ์ ที่ DSEZ สามารถ อ่านได้ที่นี่
เราหวังว่าท่านจะสามารถเข้าร่วมในการแถลงข่าวครั้งนี้
ขอแสดงความนับถือ
สมาคมพัฒนาทวาย (Dawei Development Association DDA)
For more information, please contact, Areewan Sombunwatthanakun, at [email protected], mobile phone: +66 (0) 90 237 6565
Tags: Dawei Development Association
This post is in: Uncategorized
Related Posts